โรคไข้เลือดออก

นอกจาก Covid-19 ตอนนี้ยังมี โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบมาในประเทศไทยเขตร้อนชื้น
ระบาดมากในช่วงฤดูฝน เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พาหะของโรค ได้แก่ ยุงลาย โรคไข้เลือดออกแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
1.ระยะมีไข้สูง
จะมีอาการไข้สูงมากกว่า 39 – 40 °C ซึม หน้าแดง คอแดง พบจุดเลือดออกเล็กๆ มีผื่นแดงตามร่างกาย ซึม ปวดตามร่างกาย ปวดกระดูกและข้อ ปวดท้อง มีคลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ ระยะไข้จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน
** แม้ว่าบุตรของท่านไข้ลดลงแล้ว แต่ยังซึมและทานอาหารได้น้อยอยู่ ควรมาพบแพทย์ เพราะอาจมีอาการช็อกตามมาได้ **
2.ระยะช็อก
ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงขึ้น มีเลือดออกมากขึ้น อาจพบอาเจียน ถ่ายสีดำ เส้นเลือดเปราะแตกง่าย ซีดบวม หายใจหอบ ปัสสาวะออกน้อย กระสับกระส่าย ซึมลง ตัวเย็นชื้น จะเกิดขึ้นช่วงไข้ลด 1-2 วันแรก
** ในระยะช็อก ผู้ป่วยควรนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิด ให้ผ่านนระยะช็อกด้วยความปลอดภัยอย่างน้อย 1- 2 วัน **
3.ระยะฟื้นไข้
อาจจะมีไข้ บวม ปัสสาวะออกมากขึ้น ท้องอืด รับประทานอาหารได้มากขึ้น มีผื่นแดงตามแขนขา คันตามร่างกาย ใช้ระยะเวลา 1-7 วัน
ความเสี่ยงของการติดเชื้อไข้เลือดออก ได้แก่
- พื้นที่อาศัยบริเวณเขตรร้อนชื้น มีน้ำขัง ปัจจุบันพบว่ายุงลายอาศัยอยู่ทั้งบริเวณน้ำดี และน้ำเสีย
- ยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออก
- เชื้อไข้เลือดออกในผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกจะพบเชื้อมากที่สุด ในช่วงไข้สูง ดังนั้นถ้ายุงลายกัดผู้ป่วยระยะนี้ จะนำเชื้อที่มีเชื้อโรคไปแพร่กระจายต่อได้
การดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
- ให้การดูแลอย่างนุ่มนวล เพราะผู้ป่วยจะมีปัญหาเลือดเปราะแตกง่าย จะทำให้เกิดจุดจ้ำเลือดได้
- เมื่อมีไข้ควรจะเช็ดตัวลดไข้ ตลอดจนไข้ลดลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดหมาด วางบนบริเวณข้อพับ หน้าอก แผ่นหลัง หน้าผาก รักแร้ สลับกันไป
- ควรใช้ยาลดไข้ พาราเซตามอล ตามขนาดที่แพทย์แนะนำห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชม.ห้ามให้ยาลดไข้แอสไพริน เพราะอาจมีฤทธิ์เป็นกรด จะกัดกระเพาะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้
- ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก งดอาหารสีดำ – แดง
- ควรดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำหวาน น้ำผลไม้
- ควรจัดท่านอนศีรษะสูง ให้พักผ่อนมากๆ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
- เมื่อมีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์ทันที
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น บริเวณที่มีน้ำขัง คร่ำน้ำทิ้ง ภาชนะรองรับน้ำควรมีฝาปิด ไม่ควรมีไม้ประดับที่ต้องแช่น้ำ ควรติดมุ้งลวด ใช้สมุนไพรไล่ยุง เป็นต้น
อาการที่ควรทราบ
- ไข้สูง
- ซึมลง
- คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารน้อยลง
- ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด
- มีเลือดออกที่อวัยวะ ได้แก่ มีจุดขึ้นตามร่างกาย ถ่ายดำ อาเจียน
- กระสับกระส่าย
- หายใจหอบ
เชื้อโรคไข้เลือดออกเป็นเชื้อที่ยังไม่สามารถกำจัดได้หมดไปได้ เพราะยังมีแหล่งเพาะเชื้ออยู่มากมาย แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ และรักษาเมื่อติดเชื้อได้โดยไม่ถึงแก่ชีวิต เมื่อบุตรหลานของท่านมีอาการข้างต้น ควรรีบนำมาพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาและแก้ไขอย่างทันท่วงทีและได้รับการพยาบาลอย่างนุ่มนวลและใกล้ชิดจนกว่าจะถึงระยะปลอดภัย หากท่านมีความสงสัย ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับระยะของโรค อาการ และแนวทางรักษา สามารถปรึกษาแพมย์ พยาบาลได้ตลอด 24ชม. การรักษาพยาบาลที่จำเป็นเมื่อนอนโรงพยาบาล
- การวัดชีพจรผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีอาการสูญเสียเลือดตามร่างกายต่างๆ ได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ผู้ป่วยจะได้รับการวัดชีพจรบ่อย ตั้งแต่ 15 นาที ถึง 1-4 ชม. เพื่อช่วยระวังอาการและช่วยเหลือได้ทันที
- การเจาะเลือด มีความจำเป็นต้องเจาะเลือดเป็นระยะ ขึ้นกับอาการของโรคเพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ความผิดปกติของเม็ดเลือด เกลือแร่ การทำงานของอวัยวะ เช่น ตับ ไต เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
- การให้น้ำเกลือและเลือด เพื่อทดแทนสารน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียไป และรักษาภาวะช็อกจะใช้เวลาประมาณ 24 – 48 ชม. จนกว่าผู้ป่วยจะพ้นระยะช็อกและรับประทานอาหารได้ดีขึ้น
- การบันทึกน้ำดื่ม น้ำเกลือ และปัสสาวะ เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการรักษา โดยผู้ป่วยระยะช็อกจะบันทุกประวัติต่อครั้ง หรือในบางรายที่สวนคาสายปัสสาวะจะบันทึกจำนวนปัสสาวะทุก 1 ชม. เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันที
หัตถการอื่นๆ จะทำในรายที่จำเป็น โดยแพทย์จะทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติก่อน หากต้องการรายละเอียดสามารถปรึกษาแพทย์ พยาบาลได้ตลอด
cr….nakum